หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

มหาวิทยาลัยมหิดล นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น วิศวกรพันธุ์ใหม่

หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

มหาวิทยาลัยมหิดล นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น ‘วิศวกรพันธุ์ใหม่’ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจประเทศ คาดทิศทางอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อีก 5 ปีข้างหน้า

โครงการพัฒนาหุ่นยนต์การแพทย์

หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช ไทยเป็นหนึ่งในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ จากการกระจายตัวบุคลากรด้านการแพทย์ในหลายพื้นที่ ทำให้อัตราส่วนจำนวนบุคลากรทางด้านการแพทย์ต่อประชากรทั้งหมดค่อนข้างต่ำ เฉลี่ย 0.393 คนต่อประชากร 1000 คน ทีมวิจัยคณะวิศวะมหิดลจึงพัฒนาหุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช (Telemedecine) ในช่วงโควิด ได้ช่วยให้แพทย์และบุคลากรไม่ต้องเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หุ่นยนต์ทำงานเป็นกิจวัตรภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องใช้คนควบคุม ระบบจะอาศัยแพทย์หรือพยาบาลเฉพาะตอนที่ให้คำปรึกษากับคนไข้ผ่านตัวหุ่นยนต์ ซึ่งช่วยในการลดภาระการทำงานของแพทย์ พยาบาล เช่น วัดชีพจร วัดความดันเลือด วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนกลางของตัวหุ่นยนต์ออกแบบเป็นช่องเก็บของ ทั้งช่วยลำเลียงยาและวัสดุไปยังคนไข้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพที่โรงพยาบาลจะได้รับผ่านตัวหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกัน

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ในหลายสาขา โดยเฉพาะแพทย์ที่มีชำนาญในการผ่าตัดเฉพาะด้านซึ่งมักจะประจำอยู่เฉพาะหัวเมืองใหญ่ ๆ นี่ จึงเป็นที่มาของการพัฒนา “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดแบบส่องกล้อง” ซึ่งถูกคิดค้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลมาช่วยลดปัญหาดังกล่าว หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Minimal Invasive Surgery: MIS) จะทำงานรวมกับศัลยแพทย์ และเทคโนโลยี AI ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ที่จะอิงกับจุดผ่าตัดที่กำหนดไว้ไม่ให้ขยับออกจากจุด เพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อ ที่สำคัญคือศัลยแพทย์สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล ช่วยให้แพทย์ผ่าตัดช่วยเหลือผู้ป่วยได้แม้อยู่คนละจังหวัดกัน ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่นอกจากจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์แล้ว ยังทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง ลดระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด รวมถึงลดความผิดพลาดจากการเหนื่อยล้าอีกด้วย

“หุ่นยนต์เอไอ- อิมมูไนเซอร์ (AI-Immunizer)” เป็นหุ่นยนต์ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะในการพัฒนาวัคซีน ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรม เพื่อเร่งสนับสนุนและยกระดับการพัฒนาวัคซีนของไทยสู่ระดับโลก โดยผสานเทคโนโลยีเอไอทั้งระบบจนจบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนจัดเตรียมการเพาะเชื้อไวรัส การทดสอบ การประมวลผล ระบบภาพ บันทึกผล และวิเคราะห์ผลหรือแนวโน้มได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ลดเสี่ยงการติดเชื้อและลดภาระขั้นตอนการทำงานบุคลากรทางการแพทย์ นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่ผลักดันการพัฒนาวัคซีนของศูนย์วิจัยวัคซีนต่าง ๆ ให้สำเร็จเร็วขึ้นและปลอดภัย

หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ เช่น หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงวัย และหุ่นยนต์เสริมพัฒนาการเด็กพิเศษและผู้ป่วยทางสมอง เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความอิสระของผู้ป่วย ทำให้พวกเขาสามารถเคลื่อนย้าย เข้าถึงสิ่งของและสถานที่ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สามารถพัฒนาสมองผ่านการเล่มเกมที่สนุก ทำให้พวกเขาเหมือนได้รับชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น

โครงการพัฒนาพื้นที่แห่งการวิจัย (Facility)

มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังก่อสร้างอาคารหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Robotics Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีสถานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาและสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะไม่ได้ตอบโจทย์แค่ระดับในประเทศ แต่จะขยายผลสู่ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่เป็น Active Medical Device หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมุ่งที่จะทำให้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ไทย ได้มีที่ยืนบนแผนที่โลก

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

Start giving

More areas to support

Health Informatics

มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างคลังข้อมูลพื้นฐานเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิด Life Long Learning เปิดโอกาสให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายในอนาคต

More details

Based Health Innovation

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และ Internat of Things เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน

More details

Future Medicine

นักวิจัยของมหิดล ร่วมคิดค้น วิจัย และพัฒนายาชชนิดใหม่ๆ เพื่อต่อสู้กับโรคร้ายที่ยังไม่มียารักษา และป้องกันการมาของโรคใหม่ในอนาคต

More details

พยาบาลเพื่อทุกชีวิต

พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรสำคัญของกระบวนการสาธารณสุขของไทย แต่ปัจจุบันประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากรพยาบาลวิชาชีพอย่างหนัก

More details

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

บ่อยครั้งที่เหตุฉุกเฉินนั้นคาดไม่ได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่มีผู้เจ็บป่วย บุคลากรที่สามารถปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุจึงสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เพียง 674 คนเท่านั้น

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

Get Special News

Explore and discover how to start giving and be part of our community to get special benefits.

How To Give

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE