Health Informatics

มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างคลังข้อมูลพื้นฐานเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิด Life Long Learning เปิดโอกาสให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายในอนาคต

โครงการ Health Informatics

1. คณะวิทยาศาสตร์ “มหาวิทยาลัยมหิดล” เปิด “คลังข้อมูลและศูนย์เรียนรู้ทางพยาธิชีววิทยา” เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางพยาธิชีววิทยาที่ครบวงจรมากกว่า 10,000 ชิ้นงานทางพยาธิวิทยา ทั้งในระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ สัตว์ทดลอง และมนุษย์ เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและกลไกการเกิดโรคซึ่งเป็นที่มาที่สำคัญในการรักษาโรคอย่างแม่นยำ คลังสมองทางพยาธิชีววิทยาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพิชิตโรคร้ายที่สามารถต่อยอดสู่งานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ โดยมีเครื่องมือการค้นหาและการเรียนรู้ที่ทันสมัยผ่านแอปพลิเคชันในรูปแบบ Onsite และ Online

ไม่ว่ามวลมนุษยชาติจะต้องต่อสู้กับโรคร้าย ทั้งที่เป็นโรคเรื้อรังที่คุ้นเคย หรือโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยค้นพบในอนาคต ด้วยคลังสมองทางพยาธิชีววิทยาที่เป็นศูนย์รวมแห่งองค์ความรู้ในศาสตร์ดังกล่าวที่ครบครันแห่งนี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นคลังแห่งปัญญาที่จะช่วยฝ่าฟันทุกอุปสรรคปัญหาสู่การเกิดโรค ให้สามารถยับยั้งความรุนแรงของโรค และเป็นที่พึ่งทางปัญญาของมวลมนุษยชาติ ที่นับวันจะยิ่งทวีค่าตราบนานเท่านาน

2. หนึ่งในเหตุผลที่คนไม่สามารถเอาชนะโรคร้ายได้ทันที เป็นเพราะขาด ข้อมูลพื้นฐานทางชีวภาพ ที่จะช่วยค้นหาคำตอบที่เพียงพอ ชัดเจน และแม่นยำ ล่าสุดมหาวิทยาลัยมหิดลตัดสินใจรวมทีมนักวิทยาศาสตร์ เดินหน้าสร้างฐานข้อมูลชีวภาพเพื่อไขปริศนาโรคแห่งยุคสมัยอย่างจริงจัง กลายเป็นความหวังที่จะทำให้ไทยและประเทศเครือข่าย ได้มีฐานข้อมูลชีวภาพเป็นฐานข้อมูลกลางของตัวเอง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ฐานข้อมูลทางชีวภาพที่ดีที่สุด คือฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเองจากคนในท้องถิ่น ที่ทำนายโรคได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลกลางที่สามารถใช้ศึกษาร่วมกันได้ โดยใช้ Single-cell omics technology หรือ “เทคโนโลยีโอมิกส์ระดับเซลล์” เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางพันธุศาสตร์ ใช้สร้างแผนที่ความหลากหลายทางภูมิคุ้มกันโรคของคนเอเชีย ในโครงการ Asian Immune Diversity Atlas (AIDA)

โครงการนี้จะทำให้ได้ข้อมูลทางพันธุศาสตร์ คนเอเชีย ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก แต่ยังมีข้อมูลทางพันธุศาสตร์ปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับยุโรปและอเมริกา เป็นความหวังที่จะเชื่อมต่อเข้ากับโครงการระดับโลกที่ชื่อว่า แผนที่เซลล์มนุษย์ (Human Cell Atlas) ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเก็บข้อมูล งานวิจัยครั้งนี้ ไทยได้ร่วมมือกับพันธมิตรจาก 8 ประเทศ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน และ รัสเซีย นำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ และโรคมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อ และภูมิแพ้ และผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาพันธุศาสตร์และชีวสารสนเทศทางการแพทย์

3. AI Manoraa กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้วยทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำนวนมหาศาล ในขณะที่มีโรคอุบัติใหม่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตอีกมากมาย เป็นการใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ในการช่วยออกแบบและประมวลผลเพื่อการศึกษาโครงสร้างโมเลกุลยาในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อดูการจับกับโปรตีนเป้าหมายภายในร่างกายมนุษย์ ซึ่งจะวางรากฐานทฤษฎีที่จะนำไปสู่ผลการรักษาที่ตรงจุดและแม่นยำ ช่วยลดงบประมาณที่จะต้องลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อดูผลการทดสอบกับตัวอย่างจริง อีกทั้งยังสามารถช่วยย่นย่อระยะเวลาในการคิดค้นและผลิตยาได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อไปยังแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องมีการวางแผนทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ MANORAA พร้อมเปิดให้นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สนใจสามารถเข้าศึกษา และใช้งานระบบเพื่อช่วยในการออกแบบยาด้วย Machine Learning โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ www.manoraa.org

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการ Health Informatics

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ สนับสนุน โครงการ Health Informatics เพื่อความพร้อมในอนาคต ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน

More areas to support

Nutraceutical แปรรูปผลิตภัณฑ์ไทย เพื่อการเยียวยาผู้ป่วยมะเร็งในทุกมิติ

การรักษามะเร็งไม่ได้มีเพียงแค่การทำเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา แต่รวมไปถึงการเยียวยาความรู้สึก และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างทำการรักษา

More details

เจลชีวพอลิเมอร์ โอกาสหายขาดโรคมะเร็งสมองเป็นไปได้ 

โอกาสหายขาดโรคมะเร็งสมองเป็นไปได้ด้วย เจลชีวพอลิเมอร์ (BioPolymer) นวัตกรรมระบบส่งยารักษามะเร็งสมองโดยตรง

More details

มะเร็งรู้เร็วรักษาได้ ‘จมูกอิเล็กทรอนิกส์’ รู้ทันกลิ่นโรคร้าย รู้ทันมะเร็งในร่างกาย

เพราะ กลิ่น อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยโรคมะเร็งที่กำลังก่อตัวขึ้นในร่างกาย จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-NOSE) นวัตกรรม Smart AI ช่วยจำแนกกลิ่น อาจเป็นความหวังให้ผู้ป่วยและทีมแพทย์ รู้ทันมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เข้าทำการรักษาได้ไว เพิ่มโอกาสเยียวยาให้หายขาด

More details

ธนาคารชีวภาพสู่การสร้าง ‘ยารักษารายบุคคล’ (Personalized Medicine) รักษาโรคมะเร็งตรงจุด

การรักษามะเร็งอาจไม่ทรมานเหมือนสมัยก่อน Personalized Medicine ลดผลข้างเคียง ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำ เหมาะสมกับร่างกายมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสการรักษามะเร็งให้สำเร็จ

More details

มะเร็งป้องกันได้ นวัตกรรมรู้ทันมะเร็งร้าย เพื่อประเทศไทยปลอดมะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็ง คือสิ่งที่หลายคนมองว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นมองเห็นความเป็นไปได้ถึง นวัตกรรมป้องกันมะเร็ง

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE