AI and IoT – Based Health Innovation

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และ Internet of Things เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน

โครงการ AI and IoT – Based Health Innovation

AI ฟังเสียงยุงลายป้องกันไข้เลือดออก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยเพื่อสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและมวลมนุษยชาติ โดยบูรณาการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มานานกว่าหนึ่งทศวรรษ ล่าสุดทีมวิจัยได้นำเอาเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับและคัดแยกเสียงที่แตกต่างกันของยุงลายในแต่ละประเภท ด้วยเทคนิค Machine Learning จากตัวอย่างที่ได้จากห้องปฏิบัติการเพาะพันธุ์และวิจัยยุงลายของภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ในเบื้องต้นทีมวิจัยสามารถสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบได้แล้ว และคาดว่าเมื่อหากพัฒนาแล้วเสร็จ และผ่านการทดสอบ ทั้งทางเทคนิค และทางภาคสนามแล้ว จะได้อุปกรณ์เซนเซอร์ระบบ IoT ที่สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายแพลตฟอร์มในขณะเดียวกัน เพียงติดตั้งและปล่อยให้เซนเซอร์ทำงานแบบอัตโนมัติ โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และสะดวกกว่าการใช้เครื่องดักยุงแบบเดิม ซึ่งจะใช้ติดตั้งและตรวจจับตามแหล่งระบาดของยุงลายในพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อการวางแผนรณรงค์กำจัดยุงลาย และป้องกันไม่เกิดการระบาดซ้ำ และจะขยายผลเพื่อการวางแผนรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับโลกต่อไป

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการ AI and IoT – Based Health Innovation

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ สนับสนุนโครงการ AI and IoT – Based Health Innovation เพื่อความพร้อมในอนาคต ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน

More areas to support

อุทยานธรณีและพิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดด้านธรณีวิทยา

ระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่เพียงแค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่หมายรวมถึงการกระทำของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีนัยยะ ความรู้ทางธรณีวิทยาจึงมีความสำคัญในการช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

More details

เกษตรอัจฉริยะ – นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตสู่การต่อยอดผลกำไรคืนสู่ชุมชน

การยกระดับการจัดการด้านเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศผ่าน “พลังแห่งชุมชน” แต่หลายครั้งที่องค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง เป็นเพียงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ขาดโอกาสและความต่อเนื่องในการสร้างประโยชน์เพื่อสร้างอาชีพและผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

More details

Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

More details

นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้

More details

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE