นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้

นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

คุณทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของหลากหลายผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเกิดจากความปรวนแปรของธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง ไฟป่า ทั้งเกิดขึ้นตามฤดูกาลและฉับพลัน รวมไปถึงภัยพิบัติที่มนุษย์ก่อ เช่น เหตุระเบิด สารเคมีรั่วไหล ซึ่งการเกิดภัยแต่ละครั้งนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และยังส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชน รวมถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างมหาศาล

การแก้ปัญหาหรือการจัดการภัยพิบัติเหล่านี้ยังอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหลากหลายหน่วยงาน ซึ่งอาจให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเฉพาะบางมิติ มากกว่าการมองปัญหาแบบองค์รวมในระยะยาว การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการปัญหาที่มีความซับซ้อนดังกล่าว จึงนับเป็นหนึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การแก้ปัญหาภัยพิบัติยังทำไม่ได้เต็มประสิทธิภาพและยั่งยืน

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการผลิต “นักจัดการภัยพิบัติ” ที่ในปัจจุบันเป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการสูง แต่ยังขาดแคลน และไม่เพียงพอต่อความต้องการในการจัดการปัญหาภัยพิบัติทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยหลักสูตร “วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ” เป็นหลักสูตรที่ผ่านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถและสร้างทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง มุ่งผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้สำหรับประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ ในการวางแผน จัดการ ควบคุม บรรเทา ลด และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนอันเกิดจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบอันจะเกิดต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน โดยนักศึกษาของเราได้รับการผนวกรวมองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติในมิติทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทางด้านสังคมศาสตร์ และการใช้การจัดการข้อมูลจำนวนมาก ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการ วิเคราะห์ และ ตัดสินใจ เพื่อให้การทำงานในฐานะวิศวกรสามารถตอบโจทย์ความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและสังคมได้

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการ นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

แรงสนับสนุนจากกองทุนมหิดลยั่งยืนจึงนับเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยขับเคลื่อน “การสร้าง” บุคลากรรุ่นใหม่ผ่านการมอบทุนการศึกษาในสาขาวิชาชีพเฉพาะทางที่ขาดแคลน อย่างเช่นหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยและประเทศในการรับมือกับปัญหาภัยพิบัติของไทยในทุกมิติได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

More areas to support

อุทยานธรณีและพิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดด้านธรณีวิทยา

ระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่เพียงแค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่หมายรวมถึงการกระทำของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีนัยยะ ความรู้ทางธรณีวิทยาจึงมีความสำคัญในการช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

More details

เกษตรอัจฉริยะ – นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตสู่การต่อยอดผลกำไรคืนสู่ชุมชน

การยกระดับการจัดการด้านเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศผ่าน “พลังแห่งชุมชน” แต่หลายครั้งที่องค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง เป็นเพียงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ขาดโอกาสและความต่อเนื่องในการสร้างประโยชน์เพื่อสร้างอาชีพและผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

More details

Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

More details

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

More details

Health Informatics

มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างคลังข้อมูลพื้นฐานเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิด Life Long Learning เปิดโอกาสให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายในอนาคต

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE