AI and IoT – Based Health Innovation

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และ Internet of Things เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน

โครงการ AI and IoT – Based Health Innovation

AI ฟังเสียงยุงลายป้องกันไข้เลือดออก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยเพื่อสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและมวลมนุษยชาติ โดยบูรณาการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มานานกว่าหนึ่งทศวรรษ ล่าสุดทีมวิจัยได้นำเอาเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับและคัดแยกเสียงที่แตกต่างกันของยุงลายในแต่ละประเภท ด้วยเทคนิค Machine Learning จากตัวอย่างที่ได้จากห้องปฏิบัติการเพาะพันธุ์และวิจัยยุงลายของภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ในเบื้องต้นทีมวิจัยสามารถสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบได้แล้ว และคาดว่าเมื่อหากพัฒนาแล้วเสร็จ และผ่านการทดสอบ ทั้งทางเทคนิค และทางภาคสนามแล้ว จะได้อุปกรณ์เซนเซอร์ระบบ IoT ที่สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายแพลตฟอร์มในขณะเดียวกัน เพียงติดตั้งและปล่อยให้เซนเซอร์ทำงานแบบอัตโนมัติ โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และสะดวกกว่าการใช้เครื่องดักยุงแบบเดิม ซึ่งจะใช้ติดตั้งและตรวจจับตามแหล่งระบาดของยุงลายในพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อการวางแผนรณรงค์กำจัดยุงลาย และป้องกันไม่เกิดการระบาดซ้ำ และจะขยายผลเพื่อการวางแผนรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับโลกต่อไป

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการ AI and IoT – Based Health Innovation

Start giving

More areas to support

Health Informatics

มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างคลังข้อมูลพื้นฐานเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิด Life Long Learning เปิดโอกาสให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายในอนาคต

More details

Future Medicine

นักวิจัยของมหิดล ร่วมคิดค้น วิจัย และพัฒนายาชชนิดใหม่ๆ เพื่อต่อสู้กับโรคร้ายที่ยังไม่มียารักษา และป้องกันการมาของโรคใหม่ในอนาคต

More details

หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

มหาวิทยาลัยมหิดล นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น ‘วิศวกรพันธุ์ใหม่’ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจประเทศ คาดทิศทางอุตสาหกรรมหุ่ยนต์อีก 5 ปีข้างหน้า

More details

พยาบาลเพื่อทุกชีวิต

พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรสำคัญของกระบวนการสาธารณสุขของไทย แต่ปัจจุบันประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากรพยาบาลวิชาชีพอย่างหนัก

More details

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

บ่อยครั้งที่เหตุฉุกเฉินนั้นคาดไม่ได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่มีผู้เจ็บป่วย บุคลากรที่สามารถปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุจึงสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เพียง 674 คนเท่านั้น

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

Get Special News

Explore and discover how to start giving and be part of our community to get special benefits.

How To Give

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE