พยาบาลเพื่อทุกชีวิต

พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรสำคัญของกระบวนการสาธารณสุขของไทย แต่ปัจจุบันประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากรพยาบาลวิชาชีพอย่างหนัก

โครงการ “สร้างพยาบาลเพื่อทุกชีวิต”

เชื่อหรือไม่ ว่าประเทศไทย อยู่ในภาวะขาดแคลนทรัพยากรบุคลากรทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพ ในขณะที่ภาครัฐมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือเรียกว่า Medical Hub ที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ โดยใช้ศักยภาพความแข็งแกร่งด้านระบบบริการสุขภาพของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเพื่อรับบริการจนสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ และเป็นฐานรากในการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

หากแต่ พยาบาลวิชาชีพ เป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่ขาดแคลนเป็นอันดับต้น ๆ ของเครือข่ายการให้บริการทางการแพทย์ จากที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสัดส่วนพยาบาลต่อจำนวนประชากรไว้ที่ 1 ต่อ 200 คน โดยในปี 2565 พบว่า สัดส่วนพยาบาลต่อจำนวนประชากรในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ต่อ 660 นั้น จึงหมายความว่า พยาบาล 1 คนในไทยต้องทำงานเท่ากับพยาบาล 3 คน ด้วยค่าแรงเท่าเดิม*

ซึ่งตรงข้ามกับยุทธศาสตร์ของประเทศที่กำหนดไว้ ประกอบกับความต้องการในสังคมที่สูงขึ้นทุกวัน เนื่องจากประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ที่ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การบริหารและการดูแลบุคลากรขององค์กร ค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ที่พยาบาลวิชาชีพควรได้รับ ระบบโครงสร้างและกระบวนการทำงานภายใน ซึ่งเป็นปัญหาที่ภาครัฐและหน่วยงานจำเป็นต้องบริหารจัดการต่อไป แต่อีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นคือ พบว่ายังมีนักเรียน นักศึกษาอีกจำนวนมากที่สนใจและมีศักยภาพในการศึกษาต่อในสาขาพยาบาล แต่ขาดโอกาสในการศึกษาเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์

มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะของสถาบันการศึกษาที่มีหน่วยงาน
ที่ทำหน้าที่สร้างพยาบาลวิชาชีพเข้าสู่เครือข่ายการบริการด้านสุขภาพของไทย ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมีโรงพยาบาลรองรับเมื่อจบการศึกษาจำนวน 6 โรงพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะของสถาบันการศึกษาที่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่สร้างพยาบาล
วิชาชีพเข้าสู่เครือข่ายการบริการด้านสุขภาพของไทย ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมีโรงพยาบาลรองรับเมื่อจบการศึกษาจำนวน 6 โรงพยาบาล ได้แก่

• โรงพยาบาลศิริราช
• โรงพยาบาลรามาธิบดี
• โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
• ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
• ศูนย์การแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 
• ศูนย์การแพทย์มหิดล
บำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

เราเห็นความสำคัญและพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลน
พยาบาลวิชาชีพ โดย “การสร้าง” พยาบาลวิชาชีพที่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ มิได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น แต่ยังเป็นด่านแรกที่จะประเมินปัญหาสุขภาวะสุขภาพที่ต้องดูแล นำแผนการรักษาของแพทย์ไปสู่การปฏิบัติ ช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ให้การฟื้นฟูและเสริมสร้างสุขภาพโดยคำนึงถึงองค์รวมและรายบุคคล และจัดสรรเวลาในการไปศึกษา ทำวิจัยเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการให้บริการและดูแลผู้ป่วยต่อไป จึงกล่าวได้ว่าพยาบาลวิชาชีพ เป็นบุคลากรคนสำคัญของเครือข่ายการให้บริการทางการแพทย์ การสร้างพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพ จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุน


พยาบาลวิชาชีพ

กองทุนมหิดลยั่งยืน มีแผนการระดมทุน โครงการ “สร้างพยาบาลเพื่อทุกชีวิต” เพื่อการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาพยาบาลในระดับชั้นปริญญาตรีตลอดหลักสูตร (4 ปี) ตั้งเป้า 25 ล้านบาทต่อปี เพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาที่มีศักยภาพ ได้รับโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาเป็น พยาบาลวิชาชีพ ที่มีคุณภาพ และได้เป็นกำลังสำคัญในวงการทางการแพทย์ต่อไปในอนาคต

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ “สร้างพยาบาลเพื่อทุกชีวิต” เพื่อความพร้อมในอนาคต ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน

More areas to support

อุทยานธรณีและพิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดด้านธรณีวิทยา

ระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่เพียงแค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่หมายรวมถึงการกระทำของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีนัยยะ ความรู้ทางธรณีวิทยาจึงมีความสำคัญในการช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

More details

เกษตรอัจฉริยะ – นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตสู่การต่อยอดผลกำไรคืนสู่ชุมชน

การยกระดับการจัดการด้านเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศผ่าน “พลังแห่งชุมชน” แต่หลายครั้งที่องค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง เป็นเพียงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ขาดโอกาสและความต่อเนื่องในการสร้างประโยชน์เพื่อสร้างอาชีพและผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

More details

Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

More details

นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้

More details

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE