Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

โครงการ Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ส่งผลให้ค่าวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารราคาสูงขึ้น รวมทั้งความไม่ปลอดภัยของผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้าง และโรคระบาดต่าง ๆ เช่นโรคระบาดในสุกรที่ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูพุ่งสูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ สาเหตุเหล่านี้ยิ่งเป็นสิ่งที่กดทับทางเลือกของคนที่มีรายได้น้อยให้ยิ่งน้อยลงไป

เทรนด์อาหาร Future Food จึงเป็นแนวคิดที่จะต่อยอดกระบวนการผลิตอาหารให้ตอบโจทย์ความต้องการของโลกในปัจจุบันเพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน แนวคิดดังกล่าว อาทิเช่น Novel Foods, Functional Foods, Organic Food และ Zero Waste Cooking เป็นต้น

งานวิจัยที่พัฒนา Novel Food ที่เป็นการยกระดับวัตถุดิบอาหารทางเลือกรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีสารอาหารสูง งานวิจัยของ ผศ. ดร. นัทธีวรรณ อุดมศิลป์ อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้พัฒนาเครื่องดื่มเสริมอาหาร (Functional drink) จากโปรตีนจิ้งหรีดสายสั้น โดยจิ้งหรีดเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับการสนับสนุน ผลักดันให้มีการเพาะเลี้ยงในหลายจังหวัดของประเทศไทยและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจิ้งหรีดมีปริมาณโปรตีนที่สูง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นและแร่ธาตุหลายชนิด การนำจิ้งหรีดมาผลิตเป็นเครื่องดื่มโปรตีนสายสั้น ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องดื่มเสริมอาหารหรือ Functional drink เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและสามารถนำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ได้ การพัฒนา Functional drink จากจิ้งหรีด พบว่าเครื่องดื่มเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค มีคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีกรดอะมิโนทั้งหมด ในโปรตีนจิ้งหรีดสายสั้นมีทั้งกรดอะมิโนจำเป็นและไม่จำเป็น โดยพบกรดอะมิโน BCAAs คือ valine leucine และ isoleucine ในปริมาณสูงกว่ากรดอะมิโนชนิดอื่น

งานวิจัยด้าน Future Food ของสาขาเทคโนโลยีการอาหาร ที่เกี่ยวข้องในด้าน Zero Waste และ Functional Food เช่น การสกัดไฟเบอร์จากเปลือกกล้วยดิบเพื่อผลิตเป็นสารทดแทนไขมันในไอศกรีมชนิดที่ไม่มีไขมัน (non fat ice-cream) จากงานวิจัยของอาจารย์ ดร. ชุติกาญจน์ กาบคำ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น จึงมีพฤติกรรมเลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งลดทานหวาน มันและเค็ม ไอศกรีมนมเป็นของหวานที่เป็นที่นิยม แต่เนื่องจากสูตรที่มีไขมันต่ำและขาดไขมันส่งผลต่อเนื้อสัมผัสที่ไม่เรียบเนียน ละลายเร็ว ดังนั้นจึงมีการคิดค้นชนิดของสารทดแทนไขมันในอาหาร รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพทางกายภาพด้านต่าง ๆ ของอาหารให้เทียบเคียงกับสูตรไขมันเต็ม จากงานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการใช้ของเหลือทิ้งจากการเปลือกกล้วยแล้ว สารสกัดใยอาหารจากเปลือกกล้วยยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของไอศกรีมประเภทขาดไขมัน ให้มีคุณภาพทางกายภาพที่ใกล้เคียงกับสูตรไขมันเต็ม รวมถึงช่วยเพิ่มใยอาหารด้วย

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของใบและเปลือกจากต้นมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการตัดแต่งลำต้นจากเกษตรกรผู้ปลูกในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพบว่าสารสกัดจากเปลือกลำต้นมีปริมาณฟีนอลิกและสมบัติการต้านออกซิเดชันสูงกว่าสารสกัดจากส่วนของใบ จึงนำสารสกัดจากเปลือกมาทดสอบฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของไขมันในอาหารไขมันสูง พบว่าสามารถชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันผลิตภัณฑ์กุนเชียงได้ดีเทียบเท่ากับสารต้านออกซิเดชันสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้นที่เท่ากัน คือที่ระดับ 200 ppm

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุน โครงการ Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ สนับสนุน โครงการ Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน เพื่อความพร้อมในอนาคต ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน

More areas to support

Nutraceutical แปรรูปผลิตภัณฑ์ไทย เพื่อการเยียวยาผู้ป่วยมะเร็งในทุกมิติ

การรักษามะเร็งไม่ได้มีเพียงแค่การทำเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา แต่รวมไปถึงการเยียวยาความรู้สึก และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างทำการรักษา

More details

เจลชีวพอลิเมอร์ โอกาสหายขาดโรคมะเร็งสมองเป็นไปได้ 

โอกาสหายขาดโรคมะเร็งสมองเป็นไปได้ด้วย เจลชีวพอลิเมอร์ (BioPolymer) นวัตกรรมระบบส่งยารักษามะเร็งสมองโดยตรง

More details

มะเร็งรู้เร็วรักษาได้ ‘จมูกอิเล็กทรอนิกส์’ รู้ทันกลิ่นโรคร้าย รู้ทันมะเร็งในร่างกาย

เพราะ กลิ่น อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยโรคมะเร็งที่กำลังก่อตัวขึ้นในร่างกาย จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-NOSE) นวัตกรรม Smart AI ช่วยจำแนกกลิ่น อาจเป็นความหวังให้ผู้ป่วยและทีมแพทย์ รู้ทันมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เข้าทำการรักษาได้ไว เพิ่มโอกาสเยียวยาให้หายขาด

More details

ธนาคารชีวภาพสู่การสร้าง ‘ยารักษารายบุคคล’ (Personalized Medicine) รักษาโรคมะเร็งตรงจุด

การรักษามะเร็งอาจไม่ทรมานเหมือนสมัยก่อน Personalized Medicine ลดผลข้างเคียง ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำ เหมาะสมกับร่างกายมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสการรักษามะเร็งให้สำเร็จ

More details

มะเร็งป้องกันได้ นวัตกรรมรู้ทันมะเร็งร้าย เพื่อประเทศไทยปลอดมะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็ง คือสิ่งที่หลายคนมองว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นมองเห็นความเป็นไปได้ถึง นวัตกรรมป้องกันมะเร็ง

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE