Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

โครงการ Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ส่งผลให้ค่าวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารราคาสูงขึ้น รวมทั้งความไม่ปลอดภัยของผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้าง และโรคระบาดต่าง ๆ เช่นโรคระบาดในสุกรที่ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูพุ่งสูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ สาเหตุเหล่านี้ยิ่งเป็นสิ่งที่กดทับทางเลือกของคนที่มีรายได้น้อยให้ยิ่งน้อยลงไป

เทรนด์อาหาร Future Food จึงเป็นแนวคิดที่จะต่อยอดกระบวนการผลิตอาหารให้ตอบโจทย์ความต้องการของโลกในปัจจุบันเพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน แนวคิดดังกล่าว อาทิเช่น Novel Foods, Functional Foods, Organic Food และ Zero Waste Cooking เป็นต้น

งานวิจัยที่พัฒนา Novel Food ที่เป็นการยกระดับวัตถุดิบอาหารทางเลือกรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีสารอาหารสูง งานวิจัยของ ผศ. ดร. นัทธีวรรณ อุดมศิลป์ อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้พัฒนาเครื่องดื่มเสริมอาหาร (Functional drink) จากโปรตีนจิ้งหรีดสายสั้น โดยจิ้งหรีดเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับการสนับสนุน ผลักดันให้มีการเพาะเลี้ยงในหลายจังหวัดของประเทศไทยและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจิ้งหรีดมีปริมาณโปรตีนที่สูง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นและแร่ธาตุหลายชนิด การนำจิ้งหรีดมาผลิตเป็นเครื่องดื่มโปรตีนสายสั้น ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องดื่มเสริมอาหารหรือ Functional drink เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและสามารถนำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ได้ การพัฒนา Functional drink จากจิ้งหรีด พบว่าเครื่องดื่มเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค มีคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีกรดอะมิโนทั้งหมด ในโปรตีนจิ้งหรีดสายสั้นมีทั้งกรดอะมิโนจำเป็นและไม่จำเป็น โดยพบกรดอะมิโน BCAAs คือ valine leucine และ isoleucine ในปริมาณสูงกว่ากรดอะมิโนชนิดอื่น

งานวิจัยด้าน Future Food ของสาขาเทคโนโลยีการอาหาร ที่เกี่ยวข้องในด้าน Zero Waste และ Functional Food เช่น การสกัดไฟเบอร์จากเปลือกกล้วยดิบเพื่อผลิตเป็นสารทดแทนไขมันในไอศกรีมชนิดที่ไม่มีไขมัน (non fat ice-cream) จากงานวิจัยของอาจารย์ ดร. ชุติกาญจน์ กาบคำ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น จึงมีพฤติกรรมเลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งลดทานหวาน มันและเค็ม ไอศกรีมนมเป็นของหวานที่เป็นที่นิยม แต่เนื่องจากสูตรที่มีไขมันต่ำและขาดไขมันส่งผลต่อเนื้อสัมผัสที่ไม่เรียบเนียน ละลายเร็ว ดังนั้นจึงมีการคิดค้นชนิดของสารทดแทนไขมันในอาหาร รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพทางกายภาพด้านต่าง ๆ ของอาหารให้เทียบเคียงกับสูตรไขมันเต็ม จากงานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการใช้ของเหลือทิ้งจากการเปลือกกล้วยแล้ว สารสกัดใยอาหารจากเปลือกกล้วยยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของไอศกรีมประเภทขาดไขมัน ให้มีคุณภาพทางกายภาพที่ใกล้เคียงกับสูตรไขมันเต็ม รวมถึงช่วยเพิ่มใยอาหารด้วย

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของใบและเปลือกจากต้นมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการตัดแต่งลำต้นจากเกษตรกรผู้ปลูกในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพบว่าสารสกัดจากเปลือกลำต้นมีปริมาณฟีนอลิกและสมบัติการต้านออกซิเดชันสูงกว่าสารสกัดจากส่วนของใบ จึงนำสารสกัดจากเปลือกมาทดสอบฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของไขมันในอาหารไขมันสูง พบว่าสามารถชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันผลิตภัณฑ์กุนเชียงได้ดีเทียบเท่ากับสารต้านออกซิเดชันสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้นที่เท่ากัน คือที่ระดับ 200 ppm

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุน โครงการ Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ สนับสนุน โครงการ Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน เพื่อความพร้อมในอนาคต ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน

More areas to support

อุทยานธรณีและพิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดด้านธรณีวิทยา

ระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่เพียงแค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่หมายรวมถึงการกระทำของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีนัยยะ ความรู้ทางธรณีวิทยาจึงมีความสำคัญในการช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

More details

เกษตรอัจฉริยะ – นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตสู่การต่อยอดผลกำไรคืนสู่ชุมชน

การยกระดับการจัดการด้านเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศผ่าน “พลังแห่งชุมชน” แต่หลายครั้งที่องค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง เป็นเพียงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ขาดโอกาสและความต่อเนื่องในการสร้างประโยชน์เพื่อสร้างอาชีพและผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

More details

นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้

More details

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

More details

Health Informatics

มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างคลังข้อมูลพื้นฐานเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิด Life Long Learning เปิดโอกาสให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายในอนาคต

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE