หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งได้มีโอกาสประยุกต์องค์ความรู้เหล่านั้นสู่สถานการณ์จริง พื้นที่จริง เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่พร้อม “ลงมือ” เพื่อ “สร้าง” ความเปลี่ยนแปลงทั้งระดับชุมชนและระดับประเทศ

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

เพื่อบูรณาการองค์ความรู้

แบบไร้กรอบสู่การสร้างนักพัฒนาชุมชนรุ่นใหม่

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งได้มีโอกาสประยุกต์องค์ความรู้เหล่านั้นสู่สถานการณ์จริง พื้นที่จริง เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่พร้อม “ลงมือ” เพื่อ “สร้าง” ความเปลี่ยนแปลงทั้งระดับชุมชนและระดับประเทศ

ในขณะที่ภาคเทคโนโลยีและดิจิทัลได้รับแรงสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ ต่อยอด และประยุกต์ใช้สู่เส้นทางอาชีพอย่างกว้างขวาง แต่ภาคการเกษตรและการพัฒนาในระดับชุมชนซึ่งนับเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศ กลับยังไม่ได้ถูกขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคท้องถิ่นอย่างเต็มประสิทธิภาพ องค์ความรู้ต่าง ๆ ยังคงกระจุกตัวอยู่ที่คนรุ่นเก่าที่รอคอยให้บุคลากรเลือดใหม่มาต่อยอดสู่การพัฒนาและเติบโตที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นหนึ่งในไม่กี่สถาบันการศึกษาของไทยที่มุ่งมั่นสร้างบุคลากรเพื่อตอบโจทย์ความเป็นอยู่อันยั่งยืนของประเทศจากรุ่นสู่รุ่นผ่านองค์ความรู้แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วย 7 หลักสูตรแบบสหวิทยาการ หรือ interdisciplinary ที่ไม่จำกัดเพียงแค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง แต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีอาหาร ธรณีศาสตร์ที่แรกและที่เดียวของไทย และชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ ด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ และด้านการธุรกิจและบัญชี ที่ผสมผสานด้านวิชาการและการลงมือปฏิบัติบนพื้นที่จริง พร้อมผลักดันแนวคิดแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurial mindset) เพื่อผลิตบุคลากรด้านการเกษตร นวัตกรรมอาหาร การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ให้สามารถต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สู่การทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน สู่การสร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพที่ใครหลายคนอาจไม่สนใจ แต่เราไม่เคยมองข้าม

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการ หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการความรู้ด้านความเป็นอยู่อันยั่งยืนแบบไร้รอยต่อ ผ่านการสนับสนุนกองทุนมหิดลยั่งยืน เพื่อมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งสนับสนุนการทำงานของบุคลากรและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความพร้อมและทันสมัย เพื่อรองรับ “การสร้าง” นักพัฒนารุ่นใหม่ให้ภาคเกษตรและท้องถิ่นของประเทศได้เติบโตอย่างภาคภูมิ

More areas to support

อุทยานธรณีและพิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดด้านธรณีวิทยา

ระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่เพียงแค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่หมายรวมถึงการกระทำของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีนัยยะ ความรู้ทางธรณีวิทยาจึงมีความสำคัญในการช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

More details

เกษตรอัจฉริยะ – นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตสู่การต่อยอดผลกำไรคืนสู่ชุมชน

การยกระดับการจัดการด้านเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศผ่าน “พลังแห่งชุมชน” แต่หลายครั้งที่องค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง เป็นเพียงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ขาดโอกาสและความต่อเนื่องในการสร้างประโยชน์เพื่อสร้างอาชีพและผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

More details

Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

More details

นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้

More details

Health Informatics

มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างคลังข้อมูลพื้นฐานเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิด Life Long Learning เปิดโอกาสให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายในอนาคต

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE