โครงการ “สร้างนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์”

บ่อยครั้งที่เหตุฉุกเฉินนั้นคาดไม่ได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่มีผู้เจ็บป่วย บุคลากรที่สามารถปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุจึงสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เพียง 674 คนเท่านั้น

โครงการ “สร้างนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์”

เพราะทุกความฉุกเฉินหมายถึงชีวิตของผู้ป่วย แต่ทุกเหตการณ์ที่ผู้ป่วยฉุกเฉินต้องการ เรามี “นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic)” ที่มีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล รวมทั้งการขนย้ายลำเลียงที่ถูกวิธี หรือไม่

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือที่หลายคนเรียกว่าแพทย์ฉุกเฉิน หรือ ฮีโร่ช่วยชีวิต มีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตนอกโรงพยาบาล หรือ ณ จุดเกิดเหตุ เป็นวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งให้นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ มีความรู้ ทักษะ และเจตคติในการปฏิบัติการฉุกเฉินแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน อันได้แก่ บุคคล ซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บ หรืออาการป่วยนั้น โดยใช้ศาสตร์และศิลป์อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน นับแต่การรับรู้ถึงภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงการดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบำบัดรักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงการประเมิน การจัดการ การประสานงาน การควบคุมดูแล การติดต่อสื่อสาร การลำเลียงหรือขนส่ง การตรวจวินิจฉัย และการบำบัดรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกสถานพยาบาลและในสถานพยาบาล ตลอดจนดำเนินงานหรือบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิชาชีพทางการแพทย์ที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้สูงขึ้น

ในปัจจุบันประเทศไทยมีนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เพียง 674 คน (ที่มา: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เดือนเมษายน พ.ศ.2565) ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในระบบเพียงครึ่งหนึ่ง และอัตราการผลิตบุคลากรวิชาชีพนี้ได้เพียงปีละประมาณ 180 – 200 คนเท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ในขณะที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ประมาณการความต้องการนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ในประเทศกว่า 35,000 คนในระยะเวลา 5 ปี และจำนวนที่ต้องการเร่งด่วนภายใน 1-3 ปี ไม่น้อยกว่า 10,000 คน

เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างทั่วถึง มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมพัฒนาและเพิ่มจำนวนบุคลากรผ่านการเรียนการสอนโดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉินและอาจารย์แพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ และต่อยอดไปสู่หลักสูตรใหม่ ร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อผลิต “นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ด้านกีฬา (Sport Paramedic)” พร้อมดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและทันเวลา ช่วยพัฒนาศักยภาพให้ไทยมีความพร้อม ในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับสากลอีกด้วย

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

กองทุนมหิดลยั่งยืน มีแผนการระดมทุน โครงการ “สร้างนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์” เพื่อสร้างนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ที่มีคุณภาพให้ประเทศ ได้มีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ระดับสูง และพร้อมปฏิบัติหน้าที่ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติทุกคน เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนานักเรียนที่มีศักยภาพ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยกองทุนมหิดลยั่งยืน เพื่อการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่

– นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
– บุคคลที่ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินหรือมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ที่ไม่มีผู้ปฏิบัติการเข้าศึกษา

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ “สร้างนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์” ฮีโร่ที่จะออกไปช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินให้มีโอกาสได้รอดชีวิตมากขึ้นได้

More areas to support

อุทยานธรณีและพิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดด้านธรณีวิทยา

ระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่เพียงแค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่หมายรวมถึงการกระทำของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีนัยยะ ความรู้ทางธรณีวิทยาจึงมีความสำคัญในการช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

More details

เกษตรอัจฉริยะ – นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตสู่การต่อยอดผลกำไรคืนสู่ชุมชน

การยกระดับการจัดการด้านเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศผ่าน “พลังแห่งชุมชน” แต่หลายครั้งที่องค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง เป็นเพียงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ขาดโอกาสและความต่อเนื่องในการสร้างประโยชน์เพื่อสร้างอาชีพและผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

More details

Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

More details

นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้

More details

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE