Mega Project

Health Tech Ecosystem

ระบบการแพทย์ที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นเป็นไปได้ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน และมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่จะช่วยผลักดัน องค์ความรู้ ส่งเสริมการสร้างบุคลากร นวัตกรรม และงานวิจัย เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อทุกชีวิต

How to give

ที่มาและความสำคัญของโครงการ Health Tech Ecosystem

จากวิกฤติ COVID-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของความพร้อมในระบบการแพทย์มากยิ่งขึ้น เพราะนั่นสะท้อนไปถึงความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของทุกคน ซึ่งรวมถึงประชาชนคนไทยที่มีความคาดหวังให้ระบบดังกล่าวมีการพัฒนาและสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนได้มากกว่าที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็น Medical Hub เพราะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีฝีมือระดับโลก และยังได้รับการจัดอันดับเป็น Top 5 ของโลกทางด้านความมั่นคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index) ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย แต่ก็ยังมีเรื่องที่สามารถสร้างและพัฒนาให้ดีขึ้นได้ คือ

1. การเพิ่มศักยภาพในการผลิตยาด้วยตนเองได้

ปัจจุบันการนำเข้ายาจากต่างประเทศ มีสัดส่วนถึง 70% ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณสองแสนกว่าล้านบาท และยังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่ายารักษาโรคร้ายแรงอันดับหนึ่งอย่างมะเร็ง เมื่อค่ายาแพง ระบบประกันไม่ครอบคลุม นี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่คนไทยจำนวนไม่น้อยต้องเสียชีวิตลง เพราะไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายค่ายาได้ ทำให้ต้องเลือกที่จะหยุดการรักษา ดังนั้นนอกจากเรื่องระบบและเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่ต้องพัฒนาแล้ว ประเทศไทยยังสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตยาด้วยตนเองได้ รวมไปถึงงานวิจัยในการคิดค้นยาและวัคซีนอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น

2. การลดความเหลื่อมล้ำ และเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียม

ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในเมืองหลวงหรือต่างจังหวัด ยังคงมีปัญหาในการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ และอาจยังไม่สามารถได้รับการรักษาได้ทันท่วงที หนึ่งในสาเหตุเป็นเพราะบุคลากรทางการแพทย์ยังมีจำนวนน้อยและกระจุกตัว ปัจจุบันอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรในกรุงเทพ คือ 1 ต่อ 565 คน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ 1 ต่อ 8,375 คน

การเพิ่มหมอและพยาบาลไปในพื้นที่ โดยเฉพาะต่างจังหวัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ และในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากต่างประเทศถึงปีละกว่าหกหมื่นล้านบาท ยิ่งเมื่อเจอกับวิกฤติโรคระบาดที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ทั่วโลกเริ่มขาดแคลน โจทย์นี้จึงกลายเป็นอีกความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญ วิธีการที่จะช่วยทำให้เราลดปัญหาเหล่านี้ได้ คือ การสร้างบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่จะช่วยให้การให้บริการหรือการรักษาชีวิตผู้คนมีความพร้อมมากขึ้น

โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเราเชื่อว่า

ระบบการแพทย์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ และการค้นคว้าวิจัยยา และวัคซีนเพื่ออนาคตนั้นเป็นไปได้ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน และมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเป็นหนึ่งฟันเฟืองที่จะช่วยผลักดันและส่งเสริมการสร้างและพัฒนาบุคลากรและการค้นพบใหม่ ๆ นี้ โดยการดึงศักยภาพ และความเชี่ยวชาญที่ทางมหาวิทยาลัยมี มาช่วย “สร้าง” โอกาสใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับทุกชีวิตในสังคม

โดยการตั้ง โครงการ Health Tech Ecosystem มีเป้าหมายหลักคือ การสร้างนิเวศที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและทางการแพทย์ เพื่อให้บริการด้านสุขภาพที่เหมาะสมแก่ประชาชน และส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและฟื้นฟู (Preventive Healthcare) ตามแนวทางการแพทย์ยุคใหม่

ที่สำคัญ โครงการนี้ยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมการขับเคลื่อนวงการแพทย์ไทยให้ก้าวหน้า เพื่อพร้อมรับมือกับทุกวาระหลักแห่งโรคภัยได้ทันท่วงที และเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเอง ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดการนำเข้ายาและอุปกรณ์จากต่างประเทศ ทำให้การเข้าถึงยาและบริการสุขภาพไม่จำกัดเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น และขยายฐานการให้บริการให้ครอบคลุมและเพิ่มความสามารถในการส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการแพทย์

มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี 5 โรงพยาบาล 2 โรงพยาบาลทันตกรรม และ 2 โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงคณะและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และการดูแลสุขภาพมากกว่า 10 คณะ มีความตั้งใจในการร่วมมือกันในการสร้างและพัฒนานักศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ที่จะเป็นปัญญาของแผ่นดิน ในการออกไปดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ร่วมมือกันส่งต่อองค์ความรู้ พัฒนาการวิจัยยาและวัคซีน พัฒนานวัตกร สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับทุกชีวิตในวันนี้ และในอนาคตต่อไป

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมการสร้าง Health Tech Ecosystem ให้มีประสิทธิภาพ และก้าวสู่ระดับสากลมากยิ่งขึ้นได้ ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน โดยทางกองทุนจะนำเงินบริจาคที่ได้มาบริหารและจัดสรรเพื่อนำไปสนับสนุนการโครงการต่าง ๆ ภายใต้โครงการ Health Tech Ecosystem ต่อไป

ร่วมสร้างอนาคตของประเทศไทยให้ดีขึ้น

ส่งเสริมการสร้าง Health Tech Ecosystem ให้มีประสิทธิภาพ และก้าวสู่ระดับสากลมากยิ่งขึ้นได้ ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน
How to give

Future Adaptive Talent

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

More details

พยาบาลเพื่อทุกชีวิต

พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรสำคัญของกระบวนการสาธารณสุขของไทย แต่ปัจจุบันประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากรพยาบาลวิชาชีพอย่างหนัก

More details

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

บ่อยครั้งที่เหตุฉุกเฉินนั้นคาดไม่ได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่มีผู้เจ็บป่วย บุคลากรที่สามารถปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุจึงสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เพียง 674 คนเท่านั้น

More details

Future Breakthrough Discovery

Nutraceutical แปรรูปผลิตภัณฑ์ไทย เพื่อการเยียวยาผู้ป่วยมะเร็งในทุกมิติ

การรักษามะเร็งไม่ได้มีเพียงแค่การทำเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา แต่รวมไปถึงการเยียวยาความรู้สึก และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างทำการรักษา

More details

เจลชีวพอลิเมอร์ โอกาสหายขาดโรคมะเร็งสมองเป็นไปได้ 

โอกาสหายขาดโรคมะเร็งสมองเป็นไปได้ด้วย เจลชีวพอลิเมอร์ (BioPolymer) นวัตกรรมระบบส่งยารักษามะเร็งสมองโดยตรง

More details

มะเร็งรู้เร็วรักษาได้ ‘จมูกอิเล็กทรอนิกส์’ รู้ทันกลิ่นโรคร้าย รู้ทันมะเร็งในร่างกาย

เพราะ กลิ่น อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยโรคมะเร็งที่กำลังก่อตัวขึ้นในร่างกาย จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-NOSE) นวัตกรรม Smart AI ช่วยจำแนกกลิ่น อาจเป็นความหวังให้ผู้ป่วยและทีมแพทย์ รู้ทันมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เข้าทำการรักษาได้ไว เพิ่มโอกาสเยียวยาให้หายขาด

More details

ธนาคารชีวภาพสู่การสร้าง ‘ยารักษารายบุคคล’ (Personalized Medicine) รักษาโรคมะเร็งตรงจุด

การรักษามะเร็งอาจไม่ทรมานเหมือนสมัยก่อน Personalized Medicine ลดผลข้างเคียง ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำ เหมาะสมกับร่างกายมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสการรักษามะเร็งให้สำเร็จ

More details

มะเร็งป้องกันได้ นวัตกรรมรู้ทันมะเร็งร้าย เพื่อประเทศไทยปลอดมะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็ง คือสิ่งที่หลายคนมองว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นมองเห็นความเป็นไปได้ถึง นวัตกรรมป้องกันมะเร็ง

More details

AI and IoT – Based Health Innovation

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และ Internat of Things เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน

More details

Future Medicine

นักวิจัยของมหิดล ร่วมคิดค้น วิจัย และพัฒนายาชชนิดใหม่ๆ เพื่อต่อสู้กับโรคร้ายที่ยังไม่มียารักษา และป้องกันการมาของโรคใหม่ในอนาคต

More details

หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

มหาวิทยาลัยมหิดล นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น ‘วิศวกรพันธุ์ใหม่’ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจประเทศ คาดทิศทางอุตสาหกรรมหุ่ยนต์อีก 5 ปีข้างหน้า

More details

Future Lifelong Learning

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE