หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

มหาวิทยาลัยมหิดล นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น “วิศวกรพันธุ์ใหม่”

หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

มหาวิทยาลัยมหิดล นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น ‘วิศวกรพันธุ์ใหม่’ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจประเทศ คาดทิศทางอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อีก 5 ปีข้างหน้า

หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช ไทยเป็นหนึ่งในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ จากการกระจายตัวบุคลากรด้านการแพทย์ในหลายพื้นที่ ทำให้อัตราส่วนจำนวนบุคลากรทางด้านการแพทย์ต่อประชากรทั้งหมดค่อนข้างต่ำ เฉลี่ย 0.393 คนต่อประชากร 1000 คน ทีมวิจัยคณะวิศวะมหิดลจึงพัฒนาหุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช (Telemedecine) ในช่วงโควิด ได้ช่วยให้แพทย์และบุคลากรไม่ต้องเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

หุ่นยนต์ทำงานเป็นกิจวัตรภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องใช้คนควบคุม ระบบจะอาศัยแพทย์หรือพยาบาลเฉพาะตอนที่ให้คำปรึกษากับคนไข้ผ่านตัวหุ่นยนต์ ซึ่งช่วยในการลดภาระการทำงานของแพทย์ พยาบาล เช่น วัดชีพจร วัดความดันเลือด วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนกลางของตัวหุ่นยนต์ออกแบบเป็นช่องเก็บของ ทั้งช่วยลำเลียงยาและวัสดุไปยังคนไข้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพที่โรงพยาบาลจะได้รับผ่านตัวหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกัน

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ในหลายสาขา โดยเฉพาะแพทย์ที่มีชำนาญในการผ่าตัดเฉพาะด้านซึ่งมักจะประจำอยู่เฉพาะหัวเมืองใหญ่ ๆ นี่ จึงเป็นที่มาของการพัฒนา “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดแบบส่องกล้อง” ซึ่งถูกคิดค้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลมาช่วยลดปัญหาดังกล่าว หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Minimal Invasive Surgery: MIS) จะทำงานรวมกับศัลยแพทย์ และเทคโนโลยี AI ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ที่จะอิงกับจุดผ่าตัดที่กำหนดไว้ไม่ให้ขยับออกจากจุด เพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อ ที่สำคัญคือศัลยแพทย์สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล ช่วยให้แพทย์ผ่าตัดช่วยเหลือผู้ป่วยได้แม้อยู่คนละจังหวัดกัน ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่นอกจากจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์แล้ว ยังทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง ลดระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด รวมถึงลดความผิดพลาดจากการเหนื่อยล้าอีกด้วย

“หุ่นยนต์เอไอ- อิมมูไนเซอร์ (AI-Immunizer)” เป็นหุ่นยนต์ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะในการพัฒนาวัคซีน ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรม เพื่อเร่งสนับสนุนและยกระดับการพัฒนาวัคซีนของไทยสู่ระดับโลก โดยผสานเทคโนโลยีเอไอทั้งระบบจนจบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนจัดเตรียมการเพาะเชื้อไวรัส การทดสอบ การประมวลผล ระบบภาพ บันทึกผล และวิเคราะห์ผลหรือแนวโน้มได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ลดเสี่ยงการติดเชื้อและลดภาระขั้นตอนการทำงานบุคลากรทางการแพทย์ นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่ผลักดันการพัฒนาวัคซีนของศูนย์วิจัยวัคซีนต่าง ๆ ให้สำเร็จเร็วขึ้นและปลอดภัย

หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ เช่น หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงวัย และหุ่นยนต์เสริมพัฒนาการเด็กพิเศษและผู้ป่วยทางสมอง เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความอิสระของผู้ป่วย ทำให้พวกเขาสามารถเคลื่อนย้าย เข้าถึงสิ่งของและสถานที่ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สามารถพัฒนาสมองผ่านการเล่มเกมที่สนุก ทำให้พวกเขาเหมือนได้รับชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดล นำร่องหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์การแพทย์ ปั้น วิศวกรพันธุ์ใหม่

โครงการพัฒนาพื้นที่แห่งการวิจัย

มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังก่อสร้างอาคารหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Robotics Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีสถานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาและสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะไม่ได้ตอบโจทย์แค่ระดับในประเทศ แต่จะขยายผลสู่ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่เป็น Active Medical Device หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมุ่งที่จะทำให้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ไทย ได้มีที่ยืนบนแผนที่โลก

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics)

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน โครงการ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics) เพื่อความพร้อมในอนาคต ผ่านการระดมทุนให้แก่กองทุนมหิดลยั่งยืน

More areas to support

อุทยานธรณีและพิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดด้านธรณีวิทยา

ระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่เพียงแค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่หมายรวมถึงการกระทำของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีนัยยะ ความรู้ทางธรณีวิทยาจึงมีความสำคัญในการช่วยให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

More details

เกษตรอัจฉริยะ – นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคตสู่การต่อยอดผลกำไรคืนสู่ชุมชน

การยกระดับการจัดการด้านเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศผ่าน “พลังแห่งชุมชน” แต่หลายครั้งที่องค์ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์จริง เป็นเพียงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ขาดโอกาสและความต่อเนื่องในการสร้างประโยชน์เพื่อสร้างอาชีพและผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

More details

Future Food – งานวิจัยสู่การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

ในภาวะที่ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกกำลังเริ่มขาดแคลน หนึ่งในทรัพยากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำรงอยู่คือ “อาหาร” ซึ่งแม้ว่าไทยจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่หากปราศจากการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ก็อาจสั่นคลอนความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาอย่างช้านานได้

More details

นักจัดการภัยพิบัติ – หัวใจสู่การแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ. 2565 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนคนไทยเกือบห้าแสนครัวเรือน ใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเสียหายในหลากหลายมิติที่ยากจะประเมินค่าได้

More details

หลักสูตรสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

บริบทของ “การเรียนรู้” ในโลกยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด ความรอบรู้จึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การศึกษาภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง หรือภายในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่หมายถึงการเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้ต่อยอดความรู้ในหลากหลายแขนงที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

More details

JOIN OUR NEWSLETTER

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร นวัตรรมล่าสุด และกิจกรรมพิเศษก่อนใคร

Please wait…

Thank you for subscribe

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ” หรือคลิก "การตั้งค่าคุกกี้"

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ACCEPT ALL
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

SAVE